บริการของเราดูเพิ่มเติม

บริการรับทำบัญชี

การให้บริการลูกค้ารายใหม่ ที่เข้ารับบริการกับบริษัท ทองการบัญชี จำกัด โดยท่านไม่ต้องกังวลเรื่องความเข้าใจในการวางระบบบัญชี การทำบัญชี หรือ
ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในส่วนที่เรื่องว่าBack Office เพื่อให้ธุรกิจของท่านทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติม

บริการจดทะเบียนนิติบุคคล

การจดทะเบียนนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปัจจุบันผู้ขอจดทะเบียนสามารถดำเนินการจดทะเบียนได้ด้วยตนเองในระบบ e-Registration โดยไม่ต้องเดินทางไปกรมพัฒนาธุรกิจ และสามารถศึกษาวิธีการใน www.dbd.go.th หรือสอบถามเบื้องต้นกับทางเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

บริการตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชี ตามข้อกำหนดของกฎหมาย เพื่อรับรองงบการเงินว่าถูกต้องตามควร ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน โดยประเมินความเสี่ยงและการให้คำแนะนำระบบการควบคุมภายใน หรือข้อบกพร่องที่อาจตรวจพบได้จากการตรวจสอบบัญชี

รายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อย

1. การจดทะเบียน บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน
ควรจดแบบไหนดีกว่ากัน

ตอบ  การจดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน มีส่วนที่ดีมาก ดีน้อย แตกต่างกัน ขอเสนอแนวคิดไว้ให้พิจารณาแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ทั้งนี้ห้างหุ้นส่วนในบทความนี้ ขอให้มีความหมายเพียง “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” เท่านั้น

1.1. ข้อกำหนดจากคู่ค้า การเริ่มต้นจดทะเบียน บางครั้งเกิดจากคู่ค้าที่ต้องการหลักฐานทางการค้าให้มีความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดข้อเสนอต้องดำเนินการจดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน แทนการทำธุรกิจแบบร้านค้าหรือส่วนตัว ถ้าแบบนี้ก็แนะนำให้เลือกตามที่คู่ค้ากำหนดได้เลย

1.2. ความรับผิดชอบ การจดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน มีความแตกต่างโดยขออ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
ห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 1077 ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่งซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ได้แก่

  1. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น
  2. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน
    บริษัท ตามมาตรา 1096 บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
    หัวข้อนี้ ถ้าขอบเขตการรับผิดชอบทำให้ส่วนใหญ่ เลือกที่จะไปเป็นบริษัท มากกว่า ห้างหุ้นส่วน

1.3. กิจกรรมทางกฎหมาย ความแตกต่างของกิจกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในแต่ละปี พอจะสรุปเนื้อหาพอสังเขปได้ดังนี้
บริษัท ต้องจัดให้มีการประชุมกรรมการ การประชุมผู้ถือหุ้น จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น การนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น การนำส่งงบการเงิน
ห้างหุ้นส่วน ต้องจัดให้มีการนำส่งงบการเงิน
หัวข้อนี้ จะเห็นว่ากิจกรรมของบริษัท มีความซับซ้อนมากกว่า ห้างหุ้นส่วน ทำให้ถ้าปฏิบัติไม่ครบถ้วน อาจเกิดความผิดทางกฎหมาย และส่งผลให้ต้องเสีย ค่าปรับ ตามกฎหมายกำหนดนั้นเอง

1.4. ความน่าเชื่อถือ การเริ่มต้นธุรกิจให้เกิดความน่าเชื่อถือและมั่นคง เริ่มแรกคงต้องพิจารณาจากความตั้งใจในการระดมเงินทุนและระดมสมอง ถ้ามีจำนวนมากก็น่าจะประสบความสำเร็จและได้มูลค่ามากกว่าจำนวนน้อย ในอดีตการจดบริษัท ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 7 ท่าน และปรับมาเป็น 3 ท่าน ปัจจุบันปรับมาเป็น 2 ท่าน เมื่อเทียบกับห้างหุ้นส่วน ต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป
หัวข้อนี้ ทำให้แนวคิดจำนวนผู้ลงทุนเริ่มต้นของการก่อตั้ง เรื่องความน่าเชื่อถือผลลัพธ์ระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วน น่าจะมีน้ำหนักที่เท่ากันแล้ว ณ ปัจจุบัน แต่สำหรับจำนวนเงินทุน เพื่อให้ขนาดของการลงทุนที่มีมูลค่าสูงระดับใด อันนี้ก็ต้องใช้วิจารณญาณของขนาดธุรกิจ ณ เวลานั้นๆ

1.5. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง อันนี้ประเมินจากขนาดธุรกิจที่เท่ากัน จะมีต้นทุนคงที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน เช่น ค่าทำบัญชี บริษัทอาจจะสูงกว่าห้างหุ้นส่วนเล็กน้อย และ ค่าสอบบัญชี บริษัทต้องคัดเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่เรียกว่า Certified Public Accountant (CPA) เป็นผู้รับรองงบการเงินประจำปี ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ที่เรียกว่า Tax Auditor (TA) ซึ่ง 2 เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องจัดให้มีขึ้น ตามกฎหมายกำหนด

2. กรรมการบริษัท ต้องเป็นผู้ถือหุ้นหรือไม่

ตอบ กรรมการบริษัท ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้น เพราะ ไม่มีข้อกฎหมายใดที่กำหนดว่าต้องเป็นบุคคลท่านเดียวกัน

website

ลิงก์เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมสรรพากร

สภาวิชาชีพบัญชี

ตลาดหลักทรัพย์ฯ

สํานักงานประกันสังคม

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารกรุงเทพ

Google

Yahoo

Sanook

MSN

DTC